ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาวพิมพินิจ แสงเจริญ (ขนมเตย) ในรายวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา

3/10/55

คุณธรรมและจริยธรรม

การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
          สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้  ดูน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ  ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม - จริยธรรมของคน ทั้งในระดับนักการเมือง  ข้าราชการหรือคนในแวดวงอาชีพอื่นๆ  ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวันก็คือการทุจริตคอรัปชั่น  การก่ออาชญากรรม   การเสพและการค้ายาเสพติด  ซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา  การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน  เหล่านี้เป็นต้น
          ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า  เยาวชนไทยของเราขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม - จริยธรรม อย่างยั่งยืนคืออาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวยไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข    มีรายงานผลการสำรวจของผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวพนักงานเอง  พบว่า  17 % ถูกให้ออกงานเพราะ ขาดทักษะความรู้และประสบการณ์     83 %  ถูกออกจากงานเพราะปัญหาเรื่องความประพฤติและบุคลิกภาพ   ในขณะเดียวกันมีผู้ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ในหน่วยงาน องค์กร สถาบันต่างๆ พบว่า   ผู้ประกอบการส่วนมากต้องการบัณทิต ที่มีคุณลักษณะดังนี้ ขยัน  ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน เสียสละ และมีความรับผิดชอบ    ซึ่งปรากฏการณ์ในสังคมดังกล่าวมานี้เป็นผลโดยตรง  มาจากเรื่องของการปลูกฝัง ทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม นั่นเอง

จะปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษาได้อย่างไร
          จริยธรรม  เป็น  หลักความประพฤติ  หรือ แนวทางในการปฏิบัติตน  ที่ ควรแก่การยึดถือ ปฏิบัติ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  โดยมีคุณธรรม และ ศีลธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ     การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน     คุณธรรม  เป็นสภาวะที่อยากให้เราทำอะไรที่เป็นคุณ    ศีลธรรม  เป็นสภาวะที่เราห้ามจิตใจของเราไม่ให้ทำในสิ่งผิด หรือบอกไม่ให้คนอื่นทำ   ทั้งคุณธรรม และ ศีลธรรม จึงเป็นตัวกำหนดความประพฤติของเรา   ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร   คือ  เป็นตัวกำหนดจริยธรรม      จริยธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับ   วัฒนธรรม   ประเพณี  และกฎหมาย
ศาสตราจารย์  นพ.เชวง  เตชะโกศยะ ให้แนวคิดในเรื่องการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้กับเยาวชน เอาไว้ว่า  คนเราถ้าไม่มีความรู้สึกผูกพันต่อ พ่อ แม่  ต่องานต่อแผ่นดิน  และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเขา  จะสอนเท่าไดก็คงไม่มีประโยชน์  เพราะเขาจะเกิดความสำนึกในหน้าที่  ในคุณค่าของชีวิต  คุณค่าของความเป็นมนุษย์  ย่อมเป็นไปไม่ได้  เพราะแม้ชีวิตของเขาเอง  เขาก็ไม่รับผิดชอบเสียแล้ว เขาจะไปรับผิดชอบในหน้าที่ของเขาที่ต้องทำความดีและให้ความดีแก่สังคมที่ได้รับประโยชน์ได้อย่างไร  ดังนั้น คุณธรรม  จริยธรรม  จึงเป็นตัวผล ที่จะต้องสร้างด้วยเหตุ  คือ  ให้ความรู้  ความเข้าใจแก่เขาเป็นอย่างดีนั่นเอง  และมีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย   การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จำเป็นต้องมีครู 3 สถานะ  เป็นต้นเหตุ  คือ  ครูที่บ้าน  ครูที่โรงเรียน / สถานศึกษา  และครู  ที่เป็นคำสอนในศาสนา    เพราะบุคคล 3  จำพวกนี้  ซึ่งหมายถึง    1. บุพการี      2. ครู   3. พระสงฆ์   เท่านั้น ที่อยากเห็นบุคคลอื่นได้ดี     ถ้าขาดเหตุ หรือ เหตุ ไม่ครบถ้วน   ผลคือ  คุณธรรม และ จริยธรรม  ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  หรือไม่สมบูรณ์นั่นเอง   เรามักจะเอาผลกลับมาเป็นเหตุ  คือ  เอา จริยธรรม  หรือศีลธรรม  ไปสอนเขาโดยตรง   จริยธรรม  ศีลธรรม และ คุณธรรมอื่นๆ  ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  หรือ มีขึ้นได้น้อยเต็มที

0

ฯพณฯ พลเอกวิจิตร  กุลวณิชย์  องคมนตรี ได้แสดงแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมปัจจุบันเอาไว้ตอนหนึ่งว่า  เป็นเพราะคนไทยไม่รักแผ่นดินเกิด  ท่านขอร้องให้ ครู - อาจารย์  ไปสอนลูกศิษย์ว่า   ตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน ให้มองหน้าตนเองในกระจก แล้วตั้งคำถาม   ถามตนเอง  3 ข้อ ( ให้ตอบด้วยความจริงใจ )
1.  ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ เราเคยทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินเกิดบ้าง
2.  ถ้ายังไม่เคยทำ ให้ถามตนเองต่อว่าแล้วจะเริ่มเมื่อไหร่   เช่น เมื่อถึงวันเกิด  วันสำคัญต่างๆ  เป็นต้น
3. ถ้าไม่เคยทำและยังไม่คิดจะทำ   ดังข้อ 1  และ ข้อ 2   ให้ถามตนเองอีกว่าช่วงชีวิตที่ผ่านมาเคยทำอะไรที่เป็นผลเสียหายต่อแผ่นดินเกิดบ้าง และจะเลิกเมื่อใด

คุณธรรม  จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา
           คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง  คือความกตัญญูซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย  ทางวาจา  และทางใจ  เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ    ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม  แต่สิ่งเหล่านี้กำลังถูกทำลายด้วยความ  รีบเร่ง  จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยมที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ  หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง  สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น การแสดงออกทางกาย วาจา  ใจ  ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจให้มีความอ่อนโยน สุภาพ นอบน้อม  สุขุม  รอบคอบ เช่น  การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์  ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การวางมือ  การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ  พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหาที่ว้าวุ่น การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา  เป็นการสำรวมกาย  สำรวมวาจา  สำรวมใจ  กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ  มีความแน่วแน่มั่นคงในจิตใจ การก้มกราบท่าอภิวาท  เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง   สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี  เป็นการลดอัตตา   ความยึดมั่น  ถือมั่นในตัวเอง  ซึ่งท่าทีเหล่านี้  จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดีมีวินัย  คือ  การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้องและรู้จักคุณค่าของตัวเอง   ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ  งอกงาม  มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือของผู้อื่นโดยไม่พึ่งตนเอง
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน  บนพื้นฐานอุดมการณ์ชีวิต
งานคือชีวิต   ชีวิตคืองาน บันดาลสุข
ทำงานให้สนุก  เป็นสุขเมื่อทำงาน
ของดีต้องมีแบบ  แบบที่ดีต้องมีระเบียบ 
ระเบียบที่ดี ต้องมีวินัย  คนที่มีวินัย  คือ ...
-          เคารพตนเอง           -          เคารพผู้อื่น
-          เคารพเวลา             -          เคารพกติกา
-          เคารพสถานที่
สิ่งที่เธอควรคิด "ความดีงาม"                   สิ่งที่เธอควรพยายาม "การศึกษา"
สิ่งที่เธอควรเข้าหา "นักปราชญ์"               สิ่งที่เธอควรฉลาด "การเข้าสังคม"
สิ่งที่เธอควรนิยม "ความซื่อสัตย์"               สิ่งที่เธอควรตัด "อกุศลมูล"
สิ่งที่เธอควรเพิ่มพูน "บุญกุศล"                  สิ่งที่เธอควรอดทน "การดูหมิ่น"
สิ่งที่เธอควรยิน "พุทธธรรม"                     สิ่งที่เธอควรจดจำ "ผู้มีคุณ"
สิ่งที่เธอควรเทิดทูน "สถาบันกษัตริย์"         สิ่งที่เธอควรขจัด "ความเห็นแก่ตัว"
สิ่งที่เธอควรเลิกเมามัว "การพนัน"              สิ่งที่เธอควรสร้างสรรค์ "สัมมาชีพ"
สิ่งที่เธอควรเร่งรีบ "การแทนคุณบุพการี"      สิ่งที่เธอควรปฏิบัติทันที

บุญ  คือ  การละกิเลส
คน  +  ความดี  (คน มี ความดี)    =   สุข , เจริญ
คน  +  บุญ  (คน  มี  บุญ )  =  สุข ,  เจริญ
คน มี ความดี  =  คน มี บุญ   ( สุข , เจริญ )
ความดี   =   บุญ
คุณธรรม 4 ประการตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
1. การรักษาความสัตย์  ความจริงใจต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเองฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์  ความดี
3. การอดทนอดกลั้น  อดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว  ความทุจริต  และ รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
คุณธรรม 7 ประการ  ของ พระพรหมคุณาภรณ์  (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)  ที่จะทำให้บุคคลมีความเจริญในชีวิต
1.  รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี
2.  มีชีวิตและอยู่ร่วมสังคมเป็นระเบียบด้วยวินัย
3.  พร้อมด้วยแรงจูงใจ   ใฝ่รู้   ใฝ่สร้างสรรค์
4.  มุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ
5.  ปรับทัศนคติและค่านิยมให้สมแนวเหตุผล
6.  มีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา
7.  แก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยความรู้คิด

ปณิธาน  10 ข้อ ของ พระพิพิธธรรมสุนทร ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
1.  ยึดมั่นกตัญญู                             2.  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3.  มีความเพียรสม่ำเสมอ               4.  อย่าเผลอใจใฝ่ต่ำ
5.  เชื่อฟังคำผู้หลักผู้ใหญ่               6.  รักไทยดำรงไทย
7.  ใส่ใจในโลกกว้าง                       8.  ยึดแบบอย่างที่ดี
9.  รู้รักสามัคคีตลอดเวลา               10.  ใช้ศาสนาเป็นเครื่องดำรงชีวิต
คุณธรรม เพื่อความสวัสดีของชีวิต  ของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
สิ่งที่เธอควรมี "สติปัญญา "                     สิ่งที่เธอควรแสวงหา "กัลยาณมิตร" 
"ทำวันนี้ให้ดีที่สุด"
           การปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรมให้แก่เยาวชน  จำเป็นต้องเริ่มแต่เด็ก เพราะอายุก่อน 6 ปี  จะสามารกบันทึกจริยธรรมในช่วงนั้น ได้มากที่สุด  พ่อแม่  ญาติพี่น้อง  ผู้ใกล้ชิดของเด็กในวัยนี้ จึงมีบทบาทสำคัญมากในการปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรมและควรทำอย่างต่อเนื่องผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกหลักสูตร จนกระทั่งเด็กเหล่านี้เข้าสู่การเรียนในระบบตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  การปลูกฝังทางด้านคุณธรรม - จริยธรรมยังคงต้อง ดำเนินต่อไป  อย่างเป็นธรรมชาติ  เพื่อให้นักศึกษาเป็นทั้ง  คนเก่ง  คนดี และมีความสุข

การวางแผนการปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรมให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
1.การสอนโดยตรงในรายวิชา
2.การปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรม โดยบูรณาการไว้ในการเรียนการสอน
3.การสนับสนุนส่งเสริมงานด้านกิจการนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
4.ผู้สอนต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
5.การให้รางวัลและการยกย่อง  ชมเชย  นักศึกษาที่ทำความดี  กระทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคม
แนวทางในการประเมินด้าน คุณธรรม  จริยธรรม  ของนักศึกษา
1. ผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันกำหนดคุณธรรม - จริยธรรมที่พึงประสงค์และควรได้รับการปลูกฝังหรือแก้ไขโดยเร่งด่วน  โดยอาจกำหนดเป็นบทบัญญัติ  เช่น  ความซื่อสัตย์  การตรงต่อเวลา  การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน  เป็นต้น
2.วางแผนร่วมกับผู้เรียนในการกำหนดเกณฑ์การประเมินด้านคุณธรรม - จริยธรรมว่าจะพิจารณาจากสิ่งใดบ้างในการประเมิน  (ตัวบ่งชี้)  และ  ให้น้ำหนักความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม
3.กำหนด / เลือก  เครื่องมือและวิธีการเพื่อใช้ในการประเมิน คุณธรรม - จริยธรรมของผู้เรียน  เช่น
-   การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
-   แบบบันทึกผลการสังเกต
-   การประเมินตนเองของผู้เรียน
-   การประเมินโดยเพื่อน
-   การประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน
-   แฟ้มสะสมงาน
ฯลฯ
          ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างของการปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรมให้แก่ นักศึกษา  แต่สิ่งที่ต้องคำนึงอีกประการหนึ่ง  คือ  ความถี่ในการ ปฏิบัติตามหลักจิตวิทยาของมนุษย์ ต้องมีการเรียนรู้โดยการตอกย้ำหลายครั้ง  อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษามีมากมาย  การปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรมให้แก่นักศึกษาจึงจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับการพัฒนาในส่วนอื่นๆ  ครู - อาจารย์จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมาก   นอกเหนือจากบิดามารดา  ญาติพี่น้องและสภาวะแวดล้อมอื่นๆในสังคม ซึ่งในเรื่องนี้ พระพรหมคุณาภรณ์  (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)  ได้กล่าวถึงบทบาทของครู - อาจารย์ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันเอาไว้ว่า   ครู - อาจารย์ จะต้องทำหน้าที่เป็นหลักสำคัญให้กับนักศึกษา  2 อย่าง  คือ
1.  ชี้นำชีวิตที่ดีงามแก่นักศึกษา
2.  ปลุกความเป็นนักศึกษาให้ตื่นขึ้น  ให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
          ดังนั้น ครู - อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาคงไม่อาจปฏิเสธภาระหน้าที่สำคัญในด้าน การปลูกฝังคุณธรรม - จริยธรรมให้แก่นักศึกษา นอกเหนือจากงานด้านการเรียนการสอนเชิงวิชาการ

17/9/55

คำอธิบายรายวิชา  
          ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน


วัตถุประสงค์
    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
    6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
    7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
    10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย รายวิชา
    11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย เรื่อง

รูปแบบการเรียนการสอน
     เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)

วิธีสอน
     ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)

เนื้อหาบทเรียน

หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

รายวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา


ชื่อวิชา รายวิชานวัตกรรมเทศโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
รหัสวิชา PC 54505
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ย ประภาส
ความรู้ที่ได้
- ได้อีเมล์ใหม่ (gmail.com) มีเว็บบล็อกเป็นของตนเอง
- ได้เรียนรู้การทำเว็บบล็อก
- ได้เรียนรู้เกี่่ยวกับการทำ e-book
- เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา